กภ.สุพรรณี ใจวงศ์ศรีNeck pain
เป็นอาการปวดที่พบบ่อยรองจากปวดหลัง สาเหตุ เกิดจากกล้ามเนื้อล้า พังผืดกล้ามเนื้อบริเวณคออักเสบ ตกหมอน ได้รับบาดเจ็บบริเวณคอ กระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม อักเสบติดเชื้อ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ เนื้องอก และมะเร็ง วัณโรคกระดูกสันหลังส่วนคอ ใช้กล้ามเนื้อคอและไหล่มาก เช่น การสะพายเป้ หรือกระเป๋าหนักๆ การเล่นกีฬา งานที่ต้องยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ และก้มคอทำงานนานๆ ท่าทางการทำงานที่ไม่ถูกต้อง เช่น การนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานๆ การวางตำแหน่งของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไม่ถูกต้อง ปัจจัยเสี่ยงของการเกิด 1 อายุ 2 เพศหญิงเป็นมากกว่าชาย 3 เคยได้รับบาดเจ็บที่คอมาก่อน 4 นอนไม่หลับ สุขภาพจิตไม่ดี 5 ดื่มสุรา สูบบุหรี่(Hogg-Johnson et al., 2008) 6 ใช้ยาสเตียรอยด์ (Steroid) 7 กระดูกสันหลังไม่มั่นคง 8 กระดูกสันหลังผิดรูป อาการปวดแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ 1. ปวดคอตามแกน หมายถึงการปวดเฉพาะที่ ไม่มีอาการปวดร้าวไปบริเวณใด 2. ปวดส่งต่อ เป็นลักษณะอาการปวดที่ตำแหน่งที่มีพยาธิสภาพที่เป็นสาเหตุของอาการปวด และร่วมกับอาการปวดในตำแหน่งที่อยู่คนละตำแหน่งกับสาเหตุ 3. ปวดร้าวไปตามรากประสาท เป็นอาการปวดซึ่งเกิดขึ้นจากการที่รากประสาทถูกกดเบียดหรือระคายเคืองทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปตามบริเวณของผิวหนังที่เลี้ยงโดยรากประสาทเส้นนั้นๆ การรักษา 1 การกินยาแก้ปวด และ/หรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ และ/หรือยาคลายกล้ามเนื้อ 2 การรักษาทางกายภาพบำบัด เช่นการบริหารกล้ามเนื้อคอเพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหว ใช้ความร้อนความเย็น และกระแสชนิดต่างๆจากเครื่องมือทางไฟฟ้า การดึงคอ 3 การผ่าตัดหากอาการรุนแรง บรรณานุกรม 1. กิตติ จิระรัตนโพธิ์ชัย, เสมอเดือน คามวัลย์, ชัช สุมนานนท์. โรคกระดูกสันหลังเสื่อม: หลักฐานเชิงประจักษ์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554. 2. Hogg-Johnson S, van der Velde G, Carroll LJ, Holm LW, Cassidy JD, Guzman J, et al. The burden and determinants of neck pain in the general population: results of the Bone and Joint Decade 2000-2010 3. มัณฑนา วงศ์ศิรินวรัตน์.ดูแลตัวเองด้วยกายภาพบำบัด ปวดคอ:โรงพิมพ์ผีเสื้อ;2552 4. www.nkp-hospital.go.th/institute/physicalmed_56/pFile/k_04.pdf
0 Comments
Your comment will be posted after it is approved.
Leave a Reply. |
Archives
May 2020
Categories |