กภ.อลิศา สุจริต ราชพฤกษ์คลินิกกายภาพบำบัด ภาวะข้อไหล่ติด ปัจจัยเสี่ยงของโรคนี้คือ ไม่มีการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน, ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อไหล่, เป็นเบาหวาน, ผู้หญิงมักเป็นมากกว่าผู้ชาย, อายุ 40 ปีขึ้นไป เป็นต้น สาเหตุที่ทำให้เกิดจริงๆ ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากเอ็นหุ้มข้อไหล่เกิดการอักเสบและหนาตัวขึ้น จึงทำให้มีอาการปวดข้อไหล่และมีอาการไหล่ติดตามมา อาการของข้อไหล่ติด แบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 The painful phase: จะมีอาการปวดข้อไหล่โดยเฉพาะปวดขณะมีการเคลื่อนไหว อาการปวดจะเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีการเคลื่อนไหวข้อ ระยะนี้อาจใช้เวลาตั้งแต่ 6 สัปดาห์ไปจนถึง 9 เดือน ระยะที่ 2 The frozen phase: อาการปวดจะลดลง แต่มีการเคลื่อนไหวของข้อที่ลดลง ระยะนี้ข้อไหล่เริ่มติดแข็ง ระยะนี้จะเป็นอยู่ประมาณ 4-9 เดือน ระยะที่ 3 The thawing stage: การเคลื่อนไหวของข้อจะน้อยลงมากยิ่งขึ้น และอาการปวดยังคงมีแต่น้อยกว่า ระยะ1-2 เป็นระยะที่การเคลื่อนไหวของข้อค่อยๆ กลับเป็นปกติได้เอง การรักษาทางกายภาพบำบัด - การใช้ความร้อน เพื่อลดอาการปวด และคลายกล้ามเนื้อ - การกระตุ้นไฟฟ้า - การดัดไหล่ เพื่อเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว - การออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่ ที่มา :
1. ชนัตถ์ อาคมานนท์. “บทนำ : หลักการเบื้องต้นทางการยศาตร์ ปัญหาสุขภาพในคนงานและบทบาทนักกายภาพบำบัด”.คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล 2. ชนิตถ์ อาคมานนท์. “Psychosocial factor”.คณะกายภพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล 3. http://www.rainbowarokayal.com 4.www.liefpositive.com
0 Comments
กภ.สุพรรณี ใจวงศ์ศรีNeck pain
เป็นอาการปวดที่พบบ่อยรองจากปวดหลัง สาเหตุ เกิดจากกล้ามเนื้อล้า พังผืดกล้ามเนื้อบริเวณคออักเสบ ตกหมอน ได้รับบาดเจ็บบริเวณคอ กระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม อักเสบติดเชื้อ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ เนื้องอก และมะเร็ง วัณโรคกระดูกสันหลังส่วนคอ ใช้กล้ามเนื้อคอและไหล่มาก เช่น การสะพายเป้ หรือกระเป๋าหนักๆ การเล่นกีฬา งานที่ต้องยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ และก้มคอทำงานนานๆ ท่าทางการทำงานที่ไม่ถูกต้อง เช่น การนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานๆ การวางตำแหน่งของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไม่ถูกต้อง ปัจจัยเสี่ยงของการเกิด 1 อายุ 2 เพศหญิงเป็นมากกว่าชาย 3 เคยได้รับบาดเจ็บที่คอมาก่อน 4 นอนไม่หลับ สุขภาพจิตไม่ดี 5 ดื่มสุรา สูบบุหรี่(Hogg-Johnson et al., 2008) 6 ใช้ยาสเตียรอยด์ (Steroid) 7 กระดูกสันหลังไม่มั่นคง 8 กระดูกสันหลังผิดรูป อาการปวดแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ 1. ปวดคอตามแกน หมายถึงการปวดเฉพาะที่ ไม่มีอาการปวดร้าวไปบริเวณใด 2. ปวดส่งต่อ เป็นลักษณะอาการปวดที่ตำแหน่งที่มีพยาธิสภาพที่เป็นสาเหตุของอาการปวด และร่วมกับอาการปวดในตำแหน่งที่อยู่คนละตำแหน่งกับสาเหตุ 3. ปวดร้าวไปตามรากประสาท เป็นอาการปวดซึ่งเกิดขึ้นจากการที่รากประสาทถูกกดเบียดหรือระคายเคืองทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปตามบริเวณของผิวหนังที่เลี้ยงโดยรากประสาทเส้นนั้นๆ การรักษา 1 การกินยาแก้ปวด และ/หรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ และ/หรือยาคลายกล้ามเนื้อ 2 การรักษาทางกายภาพบำบัด เช่นการบริหารกล้ามเนื้อคอเพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหว ใช้ความร้อนความเย็น และกระแสชนิดต่างๆจากเครื่องมือทางไฟฟ้า การดึงคอ 3 การผ่าตัดหากอาการรุนแรง บรรณานุกรม 1. กิตติ จิระรัตนโพธิ์ชัย, เสมอเดือน คามวัลย์, ชัช สุมนานนท์. โรคกระดูกสันหลังเสื่อม: หลักฐานเชิงประจักษ์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554. 2. Hogg-Johnson S, van der Velde G, Carroll LJ, Holm LW, Cassidy JD, Guzman J, et al. The burden and determinants of neck pain in the general population: results of the Bone and Joint Decade 2000-2010 3. มัณฑนา วงศ์ศิรินวรัตน์.ดูแลตัวเองด้วยกายภาพบำบัด ปวดคอ:โรงพิมพ์ผีเสื้อ;2552 4. www.nkp-hospital.go.th/institute/physicalmed_56/pFile/k_04.pdf กภ.สุภาพร มณีจำรัส Trigger Finger หรือที่เรียกกกันว่าโรคนิ้วล๊อก ผู้ป่วยจะมีอาการงอนิ้วมือแล้วเหยียดออกไมค่อ่ยได้ มักพบได้ บ่อยในนิ้วหัวแม่มือ นิ้วนาง นิ้วกลาง นิ้วก้อย และนิ้วชี้ ในรายที่เป็นมากผ้ปู่วยอาจจะเป็นได้ทั้ง 5 นิ้วได้ สาเหตขุองโรคนวิ้ลอ็กเกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ ที่ทำหน้าที่ในการงอนิ้วมือเสียดสีกับปลอกหุ้มเอ็นกล้ามเนื้อ ที่อยู่บริเวณโคนกระดูกนิ้วมือ เมื่อมีการอักเสบมากขึ้น ปลอกห้มุเอ็นกล้ามเนื้อจะหนาตัวขึ้น ส่วนเอ็นกล้ามเนื้อก็จะนูนบวม เมื่อมีการงอนิ้วแล้วเหยียดออกเส้นเอ็นกล้ามเนื้อก็จะกลับเข้าที่ไปในปลอกห้มุไม่ได้ เราจึงต้องใช้มือค่อยๆจับนิ้วให้เหยียดออก เส้นเอ็นนจึงจะสามารถลอดผ่านเข้าไปได้ มักพบในคนที่มีการใช้งานซ้ำๆ ในทา่กำมือเช่น ถือถุง หิ้วของนานๆ หยิบจับอุปกกณ์ทำงานบ้าน เล่นดนตรี ทำสวนขุดดิน อาจพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อรูมาตอยด์ เบาหวาน ภาวะขาดไทรอยด์ การรักษา ผู้ที่เริ่มมีอาการในระยะแรก ควรเข้ารับการรักษาจะได้ผลเร็ว 1. การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด -ในระยะแรกเมื่อแพทย์ได้ทาการตรวจวินิจฉัยแล้ว พบว่ามีอาการของโรคนิ้วล๊อค จะแนะนาให้ผ้ปู่วยรับประทาน ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตรียรอยด์ เหมาะสาหรับผ้ปู่วยที่กังวลการฉีดยา -ฉีดยาสเตรียรอยด์เพื่อต้านการอักเสบวิธีนี้อาจจะต้องมีการฉีดยาหลายครั้ง และได้ผลดีในรายที่เป็นระยะแรกๆ -การใส่เฝือกหรืออปุกรณ์ประคองนิ้วมือ ใช้เวลารักษาประมาณ 3-9 สัปดาห์ ได้ผลดีในรายที่มีอาการมากในช่วงตื่นนอนตอนเช้าแต่ไม่หมาะกับผู้ที่เป็นนิ้วล๊อคหลายนิ้ว - การทำกายภาพบำบัดเพื่อรักษาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการอักเสบ ลดปวด เพิ่มมช่วงการเคลื่อนไหวให้กลับมาเป็นปกติ โดยขั้นตอนในการรักษาจะสามารถใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด เพื่อลดการอักเสบ การออกกำลังกาย และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการดูแลตัวเองให้เหมาะสม 2. การรักษาโดยการผ่าตัด - จะใช้ในกรณีจำเป็นที่อาการของผ้ปู่วยไม่ดีขึ้นหรือเป็นซ้ำบ่อยๆ โดยแพทย์จะตัดปลอกหุ้มเอ็นที่หนาตัวขึ้นที่รัดเอ็นกล้ามเนื้อออก การผ่าตัดจะมี 2 แบบคือการผ่าแบบเปิด แผลกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และการผ่าตัดแบบใช้เครื่องมือเล็กๆ เจาะผ่านผิวหนัง โดยผ่าวิธีนี้จะไม่นิยมทำในกรณีที่เป็นนิ้วโป้งและนิ้วชี้ ข้อมลูจาก http://www.chulalongkornhospital.go.th/ http://www.doctor.or.th/article/detail/1133 |
Archives
May 2020
Categories |