มีสาเหตุมาจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยงอย่างเฉียบพลัน(stroke) เนื่องมาจากเส้นเลือดแดงในสมอง อาจมีการตีบ อุดตัน หรือแตก ทำให้เนื้อสมองบางส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายตายหรือหยุดสั่งงาน จึงทำให้เกิดอาการอัมพาตของร่างกายซีกตรงกันข้าม ทำให้ร่างกายมีการสูญเสียการทำงานของแขนขาในด้านเดียวกันของลำตัว เป็นโรคที่พบได้บ่อยในวัยกลางคนหรือวัยสูงอายุ
สาเหตุของการเกิดแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆตามสาเหตุของการเกิดโรค 1.เกิดจากสมองขาดเลือด (ischemic stroke) แบ่งย่อยออกเป็น หลอดเลือดในสมองตีบตัน (Cerebral thrombosis) เกิดจากมีลิ่มเลือดในหลอดเลือดสมองไปอุดตันหลอดเลือดทำให้สมองขาดเลือดไปเลี้ยง พบได้บ่อยที่สุด และหลอดเลือดในสมองมีลิ่มเลือดอุดตัน (cerebral embolism) เกิดจากลิ่มเลือดที่หลุดมาจากอวัยวะอื่นเข้าสู่หลอดเลือดสมอง ทำให้หลอดเลือดสมองอุดตัน ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคเลือด หรือรับประทานยาคุมกำเนิด 2.เกิดจากหลอดเลือดสมองแตก ( hemorrhagic stroke) ทำให้เลือดออกในสมองหรือช่องใต้เยื่อหุ้มสมอง ส่วนมากพบในผู้สูอายุ หรือผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุที่มีอันตรายร้ายแรงอาจตายได้ในเวลารวดเร็ว ปัจจัยเสี่ยงโรคหลัก 1.ความดันโลหิตสูง มีอัตราเสี่ยงสูงกว่าคนปกติ 3- 17 เท่า ขึ้นอยู่กับอายุและความรุนแรงในแต่ละราย 2.โรคเบาหวาน เพราะจำทำให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็งทั่วร่างกาย ทำให้เกิดการอุดันของหลอดเลือด มีความเสี่ยงกว่าคนปกติ 2.5-4 เท่า 3.ภาวะไขมันในเลือดสูง อาจทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดได้ 4.การสูบบุหรี่ มีความเสี่ยงกว่าคนปกติ 3 เท่า ทำให้หลอดเลือดตีบได้ง่าย ปัจจัยเสี่ยงโรครอง ได้แก่ ผู้สูงอายุ เชื้อชาติ การดื่มสุรา โรคหัวใจ โรคเลือด การรับประทานยาคุมกำเนิด ความอ้วน ขาดการออกกำลังกาย ประวัติครอบครัวบิดามารดาเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน อาการเตือน โรคอัมพาตครึ่งซีกจะมีอาการอ่อนแรงของแขนขาซีกหนึ่งเกิดขึ้นฉับพลันทันทีบางคนอาจสังเกตว่าจู่ๆล้มลง หรือก้าวขาไม่ได้ ขยับแขนไม่ได้ อาจมีอาการชาตามแขนขาตามัว ตาเห็นภาพซ้อน พูดไม่ได้หรือพูดอ้อแอ้ปากเบี้ยวหรือกลืนไม่ได้ร่วมด้วยบางคนอาจมีอาการปวดศีรษะ วิงเวียน หรือมีความรู้สึกสับสนก่อนที่เกิดอาการอัมพาต ในรายที่เป็นรุนแรง อาจมีอาการเป็นลม หมดสติ ซึ่งมักจะเกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก และมีเลือดคั่งในสมอง การป้องกัน ตรวจสุขภาพประจำปี หากมีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคให้ควบคุมให้อยู่ในภาวะปกติ และการป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำโดยการใช้ยาต้านเกล็ดเลือด การรักษา การรักษา แพทย์ผู้ให้การรักษาจะมีมีการใช้ยา เพื่อลดอาการของการขาดเลือดที่สมอง เช่น การรักษาความดันให้พอเหมาะ ใช้ยาต้านเกล็ดเลือด ใช้ยากันเลือดแข็ง การลดความหนืดของเลือด ให้ยาลดสมองบวม หากใช้ยาไม่ได้ผลแพทย์จะพิจารณาการผ่าตัด ตามแต่ละราย หลังจากรักษาจนอาการคงที่และผู้ป่วยเป็นอัมพาทครึ่งซีก จะเป็นหน้าที่ของแพทย์และบุคลากรในทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟูที่ต้องทำหน้าที่รักษาและฟื้นฟูเพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาใช้อวัยวะต่างๆได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด กภ.สุพรรณี ใจวงศ์ศรี ราชพฤกษ์คลินิกกายภาพบำบัด อ้างอิงจาก
0 Comments
โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นอาการที่เกิดจากเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนที่ฉาบผิวกระดูกข้อเข่า ซึ่งมีหน้าที่ลดการเสียดสีกันขณะมีการใช้งานข้อเข่า เมื่อกระดูกอ่อนผุพังหรือบางลงก็จะทำให้ข้อต่อเสียดสีกันมากจนเกิดการอักเสบ ดังรูปด้านล่าง พบได้ในช่วงอายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป และพบมากในช่วงอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป ผู้ป่วยจะมีอาการข้อฝืดขณะที่นั่งนานๆแล้วเปลี่ยนท่า หรือขณะเปลี่ยนอิริยาบถ จะสังเกตได้ว่ามีเสียงในข้อเข่าเมื่อขยับตัวเปลี่ยนท่า มีความรู้สึกคล้ายข้อเข่าล็อค บางรายอาจมีข้อเข่าบวมโต อุ่นๆ อยู่ตลอดเวลา ซึ่งแสดงว่าข้อเข่ามีการอักเสบ ถ้าในรายที่เป็นรุนแรงข้อเข่าจะผิดรูป กลายเป็นเข่าโกง เข่าติดแข็ง งอได้ไม่สุด และกล้ามเนื้อลีบเล็กลงได้ สาเหตุของการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
มักเกิดจากการใช้งานมานาน จนข้อเข่าเสื่อมไปตามวัย หรือจากการใช้งานที่ไม่ถูกต้องทำให้ข้อเสื่อมก่อนวัยอันควร เช่น นั่งยองทำงานบ่อยๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ชอบนั่งงอเข่า พับเพียบ คุกเข่า มีการเล่นกีฬาที่ต้องกระโดดกระแทกบ่อยๆ หรือมีภาวะเอ็นในข้อเข่าฉีกขาด หมอนรองกระดูกในเข่าฉีกขาด น้ำหนักตัวมาก ใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม หรือมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดวิตามินและแร่ธาตุ องค์ประกอบเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุให้ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควรได้ทั้งสิ้น แนวทางการรักษาทางกายภาพบำบัด การรักษาทางกายภาพบำบัดเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม โดยมีเป้าหมายดังนี้
เครดิตภาพ isanook.com www.siamhealth.net กภ.สุภาพร มณีจำรัส ราชพฤกษ์คลินิกกายภาพบำบัด |
Archives
May 2020
Categories |