กายภาพหมอนรองกระดูกทับเส้น ไม่ผ่าตัด
  • กายภาพบำบัดที่สาเหตุอาการปวดหลัง
  • โปรแกรมพิลาทิสกายภาพ

โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome )

5/10/2014

0 Comments

 
Picture








กภ.สุพรรณี ใจวงศ์ศรี
ราชพฤกษ์คลินิกกายภาพบำบัด

Picture
ในยุคปัจจุบันมีการใช้สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์เกือบทุกวัน ทำให้ใช้ข้อมือมากเกินไป เมื่อรู้สึกตัวอีกทีก็มีอาการปวดข้อมือ ชานิ้ว หรือปวดแปล๊บที่นิ้วมือ อาการที่กล่าวมานี้คืออาการของโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

โรค Carpal Tunnel Syndrome หรือชื่อย่อคือ CTS เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากเส้นประสาทมีเดียน (Median Nerve) ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณแขน และมือ และรับความรู้สึก บริเวณฝ่ามือ นิ้วโป้ ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และครึ่งหนึ่งของนิ้วนาง เส้นประสาทนี้จะเดินทางตั้งแต่บริเวณต้นคอจนถึงปลายนิ้วมือ ซึ่งบริเวณข้อมือนั้น จะต้องลอดช่องอุโมงค์ที่เรียกว่า Carpal Tunnel เมื่ออุโมงค์นี้เกิดการแคบลงจากสาเหตุต่างๆ เช่นการอักเสบ การบวมน้า หรือมีสิ่งอื่นมากดทับ ก็จะเป็นผลให้เส้นประสาทมีเดียนถูกกดทับ

สาเหตุของการเกิดโรค

1. การใช้งานข้อมือในท่าเดิม ๆ อย่างเช่นคนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ที่ต้องใช้เมาส์ โดยใช้ข้อมือเป็นจุดหมุน การกดแป้น คีย์บอร์ด การเย็บผ้า การขับรถ
2. การใช้ข้อมือที่มีการงอมือเป็นเวลานาน เช่น การกวาดบ้านนาน ๆ การรีดผ้า การหิ้วถุงที่มีการงอข้อมือ
3. การทำงานที่มีการใช้ข้อมือกระดกขึ้นและการสั่นกระแทก เช่น ช่างฝีมือประเภทต่าง ๆ พนักงานโรงงาน งานที่เกี่ยวกับการก่อสร้างหรืองานคอนกรีต
4. การที่พังผืดหนาตัวมากขึ้น จากสภาพร่างกายที่มีอายุมากขึ้น

อาการแสดงและการเกิดโรค

1. ปวด ชาบริเวณฝ่ามือและนิ้วมือจะมีอาการข้างเคียงหรือทั้ง 2 ข้าง มักจะมีอาการเด่นชัดในมือข้างที่ถนัดโดยเฉพาะนิ้วโป้ง
ชี้ กลาง และนิ้วนางครึ่งนิ้ว
2. อาการอ่อนแรงของมือ และนิ้วมือ เช่น กำมือได้ไม่แน่น หยิบจับของแล้วหล่นง่าย ถ้าไม่รีบรักษา จะสังเกต เห็นกล้ามเนื้อในมือฝ่อลีบ บางครั้ง อาจพบว่ามีอาการมากขึ้นในตอนกลางคืนบางครั้งผู้ป่วยอาจตื่นขึ้นมาเนื่องจากอาการปวด แต่เมื่อสะบัดข้อมือ แล้วมีอาการดีขึ้น

การวินิจฉัยทางกายภาพบาบัด

Picture
1. ใช้การทดสอบ ที่เรียกว่า Tinel's test โดยการเคาะบริเวณตรงกลางข้อมือซึ่งเป็นบริเวณที่เส้นประสาท median nerve ผ่าน จะมีอาการปวดหรือลักษณะไฟช็อต ร้าวไปที่นิ้วมือ การทดสอบนี้มีความไว40-60% มีความจาเพาะ70-94%

Picture
2. การตรวจ Phalen's test คือให้งอข้อมือ 90 องศาเป็นเวลา 1 นาที ผู้ป่วยจะมีอาการชา หรืออาการปวดบริเวณฝ่ามือและนิ้วมือ

แนวทางการรักษา

1. หลีกเลี่ยงการกระดกข้อมือขึ้นลงในกิจวัตรประจาวัน โดยการเปลี่ยนมาใช้ข้อศอกหรือข้อไหล่ในการทำกิจกรรมต่างๆ แทนเช่น การกวาดบ้าน การแปรงฟัน ฯลฯ เพื่อลดอาการอักเสบบริเวณข้อมือ
2. การทำกายภาพบาบัด เช่น การทำอุลตร้าซาวด์ การบริหารมือ ซึ่งจะได้ผลดีในผู้ที่เริ่มต้นมีอาการไม่มาก
3. การรักษาด้วยยาและการผ่าตัด


ออกกำลังกำยเพิ่มกำรเคลื่อนใหวของเอ็นกล้ำมเนื้อ (tendon gliding exercise)
ด้วยความปรารถนาดีจาก
ราชพฤกษ์คลินิกกายภาพบำบัด
เพราะคุณคือคนสำคัญ ที่เราต้องดูแล

Referrence
1. ปราณี ทู้ไพเราะ. คู่มือโรค. กรุงเทพฯ : N P Press Limited Partnership, 2552.
2. ณัฏฐ์ชัย จิตต์ธรรมวาณิช. โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome . [database on the internet]. ladprao hospital homepage. Available from: http://www.ladpraohospital.com/lph_site2/healthKnowledgesDetail.php?txtID=15. (8 พฤษภาคม 2557)
3. ทิพวรรณ สิทธิ. Carpal tunnel syndrome (โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ). [database on the internet]. Available from: http://www.pt.mahidol.ac.th/ptclinic/index.php?option=com_content&view=article&id=305:carpal-tunnel-syndrome&catid=55:2009-03-13-03-23-09&Itemid=111&showall=1. (8 พฤษภาคม 2557)
4. สมศักดิ์ ลีเชวงวงศ์. โรคกลุ่มอาการประสาทมือชา (carpal tunnel syndrome). [database on the internet]. Available from: http://www.vichaiyut.co.th/jul/23_03-2545/23_03-2545_P13-14.pdf
5. ธนินนิตย์ ลีรพันธ์. การออกกาลังกายในผู้ที่มีภาวะ Carpal tunnel syndrome. [database on the internet]. Available from: http://www.taninnit.com/index.php?option=com_content&view=article&id=89&Itemid=500

0 Comments

ปวดคอ

5/4/2014

0 Comments

 
Picture
สาเหตุของการปวดคอที่พบบ่อย

  1. อิริยาบทหรือท่าที่ผิดสุขลักษณะ ทำให้กล้ามเนื้อบางมัดถูกใช้งานจนเมื่อยร้าเกินไป เช่นบางคนชอบนั่งก้มหน้า หรือ หรือช่างที่ต้องเงยหน้าอยู่ตลอดเวลา ใช้หมอนสูงเกินไปวิธีแก้ต้องใช้หมอนหนุุต้นคอหรือบริเวณท้ายทอย
  2. ความเครียดทางจิตใจซึ่งอาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ เช่นการงาน ครอบครัว การพักผ่อนที่ไม่พอเพียง ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อคอหดเกร็ง
  3. คอเคร็ดหรือยอก เกิดจากการที่กล้ามเนื้อคอต้องทำงานมากเกินไป เนื่องจากคอต้องเคลื่อนไหวเร็วเกินไป หรือรุนแรงเกินไปทำให้เอ็นและกล้ามเนื้อถูกยืดมากจนมีการฉีกขาดบางส่วนจนเกิดอาการปวด ตัวอย่างที่ทำให้เกิดคอเคล็ดเช่น การก้มเพื่อมองหาของใต้โต๊ะ การหกล้ม
  4. ภาวะข้อเสื่อม เนื่องจากกระดูกคอต้องแบกน้ำหนักอยู้ตลอดเวลาตั้งแต่เด็กจนแก่ ทำให้ข้อเสื่อมตามอายุมีปุ่มกระดูกหรือกระดูกงอกที่ขอบของข้อต่อ ซึ่งอาจจะไปกดทับถูกปลายประสาทที่โผล่ออกมา ภาวะข้อกระดูกเสื่อมอาจจะไม่มีอาการปวดหรือผิดปกติใดๆ แต่อาจจะพบโดยบังเอิญ
  5. อาการบาดเจ็บของกระดูกคอซึ่งอาจจะเกิดจากอุบัติเหตุ ต่างๆเช่น ตกที่สูง ถูกทำร้ายร่างกาย รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์พลิกคว่ำ ผู้ป่วยมักจะมีอาการบาดเจ็บของร่างกายส่วนอื่นด้วย
  6. ข้ออักเสบ โรคข้ออักเสบเรื้อรังบางชนิดอาจจะทำให้กระดูกต้นคออักเสบด้วย เช่นข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคที่เป็นสาเหตุของอาการปวดต้นคอ

โรคหมอนรองกระดูก Cervical Disc Disease

หากเราเกิดอุบัติเหตุเช่น รถชนกันทำให้ศีรษะหงายหลัง หรือเกิดจากข้ออักเสบทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมและมีการเลื่อนของหมอน รองกระดูกไปกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดเหมือนไฟช็อกจากต้นแขนไปปลายแขนร่วมกับอาการชา หากไม่รักษาอาจจะทำให้แขนอ่อนแรงถึงกับเป็นอัมพาต หมอนกระดูกทับเส้นประสาท

ท่อไขสันหลังตีบ Cervial stenosis

เนื่องจากมีการเสื่อมของกระดูกต้นคอและหมอนรองกระดูกทำให้รูในท่อไขสันหลังแคบจึงมีการกดทับประสาทไขสันหลัง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดต้นคอ ชามือ เดินเร็วจะปวดขา ทำงานที่มีความละเอียดไม่ได้

กระดูกต้นคอเสื่อม Osteoartgritis

กระดูกต้นคอก็เหมือนกับกระดูกที่อื่นๆ เมื่อใช้งานมานานก็เกิดการเสื่อมของกระดูก หมอนกระดูกจะบางลง และมีกระดูกงอกเงยออกมา ผู้ป่วยจะมีอาการปวดต้นคอ มักจะเป็นมากในตอนเช้า ปวดต้นคอร้าวไปบริเวณไหล่หรือสะบัก ตอนสายๆอาการจะดีขึ้น

การได้รับอุบัติเหตุ

ส่วนให้เกิดจากอุบัติเหตุรถหรือมอเตอร์ไซด์ มีการหงายหน้าอย่างรวดเร็วและรุนแรงทำให้มีการช้ำของกล้ามเนื้อ ในรายที่เป็นรุนแรงอาจจะมีหมอนกระดูกทับเส้นประสาท

ถ้ามีอาการปวดคอ ควรรีบไปรึกษานักกายภาพบำบัด เพื่อหาสาเหตุของอาการปวดคอและรักษาก่อนที่จะมีอาการเรื้อรัง

ขอบคุณข้อมูลจาก www.siamhealth.net

0 Comments

5 อาการออฟฟิศซินโดรมที่ควรระวัง

5/1/2014

0 Comments

 
Picture
1. อาการปวดตึงที่คอ บ่า และไหล่

หนุ่มสาวออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ มักมีอาการปวด ตึง บริเวณคอ บ่า และไหล่ บางรายอาจมีอาการปวดเกร็งจนอาจหันคอ ก้ม หรือเงยไม่ได้ก็มี…ที่อาการเบาหน่อยก็อาจจะแค่ปวดคอ บ่า ไหล่ และบริเวณสะบักหลัง หากคุณมีอาการใดอาการหนึ่งเหล่านี้ ควรบำบัดด้วยการไปนวดคลายกล้ามเนื้อด่วนเลย อย่าปล่อยทิ้งไว้นานๆ เพราะหากอาการหนักขึ้นจะบำบัดรักษายากขึ้นตามไปด้วย ใครที่ลองไปนวดแล้วไม่หาย แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางจะดีที่สุด

2. อาการยกแขนไม่ขึ้น

อาการนี้เกี่ยวเนื่องมาจากข้อแรก ซึ่งจะมีอาการปวดตึงกล้ามเนื้อตั้งแต่คอ บ่า จนถึงไหล่ และร้าวลงไปที่แขน จนเป็นเหตุให้ยกแขนไม่ขึ้น เนื่องจากว่ามีพังผืดมาเกาะที่บริเวณสะบักและหัวไหล่นั่นเอง และบางรายอาจมีอาการชาไปที่มือหรือนิ้วมือด้วย…ใครที่มีอาการแบบนี้ควรบำบัด ด้วยการไปให้แพทย์แผนไทยกดจุดเพื่อทำการสลายพังผืด หรือประคบร้อนเพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนที่เป็นพังผืดแข็งตึงให้ อ่อนตัวลงและคลายความปวดลง อาการก็จะดีขึ้น

3. อาการปวดหลัง

เป็นอีกหนึ่งอาการยอดฮิตของออฟฟิศซินโดรมเลยล่ะ เกิดจากการที่เรานั่งทำงานติดต่อกันนานๆ หรืองานที่ต้องยืนนานๆ โดยเฉพาะคุณสาวๆ ที่ต้องใส่รองเท้าส้นสูงตลอดทั้งวันด้วยแล้ว ยิ่งเกิดอาการปวดหลังได้ง่าย การยกของหนักเป็นประจำหรือการออกกำลังกายหักโหมเกินไปก็เป็นสาเหตุให้ปวด หลังได้เช่นกัน โดยอาจเกิดอาการเคล็ด ขัด ยอก หรือปวด ตึง กล้ามเนื้อบริเวณหลัง จนบางรายอาจไม่สามารถเอี้ยวหรือบิดตัวได้ แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์แผนไทยหรือแพทย์เฉพาะทางเพื่อบำบัดแก้ไขอาการเหล่า นี้ให้หมดไป

4. อาการปวดและตึงที่ขา

เกิดจากการนั่ง เดิน หรือยืนนานๆ จนทำให้ปวดตึงกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นทั่วทั้งขา บางรายปวดร้าวไปที่เข่าและข้อเท้าก็มี ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจากการใช้งานขาหนักทุกวันจนเกิดอาการล้าสะสม ซึ่งถ้าปล่อยไว้นานๆ โดยไม่ได้รับการบำบัดแก้ไข อาจทำให้เกิดอาการปวดร้าวและอาการชาลงไปที่บริเวณเท้าและปลายนิ้วเท้าได้ ทางที่ดีแม้มีอาการเพียงเล็กน้อยก็ควรรีบทำการบำบัดโดยด่วน!

5. อาการปวดศีรษะ

ในแต่ละวันคนทำงานออฟฟิศส่วนใหญ่จะเกิดความเครียดสะสมโดยไม่รู้ตัว จนทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ บางรายอาจเกิดจากการทำงานหนักเกินไป หรือต้องเดินทางขึ้นเหนือล่องใต้ตลอดเวลา เมื่อเกิดอาการปวดศีรษะขึ้นมา คนส่วนใหญ่จะแก้ไขด้วยการกินยาแก้ปวด บางรายอาจกินติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งอาการปวดศีรษะก็จะหายไปชั่วคราว แต่อาจกลับมาทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก ดังนั้น หากคุณมีอาการปวดศีรษะบ่อยๆ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คและหาสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดจากอะไร และรีบรักษาให้หายเสียแต่เนิ่นๆ แล้วคุณจะมีความสุขกับชีวิตมากยิ่งขึ้น

9 วิธีสร้างภูมิคุ้มกันโรคออฟฟิศซินโดรม 1. ถ้าเป็นไปได้ ควรเลือกที่นั่งติดริมหน้าต่าง เพื่อให้ได้แสงจากธรรมชาติบ้าง ดีกว่าต้องนั่งอยู่ใต้แสงจากหลอดไฟตลอดทั้งวัน
2. ควรเปิดหน้าต่างออฟฟิศให้อากาศได้ระบาย อย่างน้อยในตอนเช้าที่อากาศยังไม่ร้อนมาก และตอนพักกลางวัน
3. ควรปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้งาน เพื่อลดระยะเวลาในการรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นโรคความดัน
โลหิตสูง และความเครียด
4. หาต้นไม้ในร่มมาปลูก เพื่อช่วยดูดซับสารพิษและเป็นที่พักสายตาอันอ่อนหล้าจากการต้องจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ
5. ถ้าออฟฟิศคุณมีขนาดเล็ก ลองลดการใช้งานเครื่องปรับอากาศลงบ้าง บางวันคุณอาจจะเลือกใส่เสื้อผ้าที่มีลักษณะบางเบา แล้วใช้พัดลมมาเปิดแทน ก็จะรู้สึกเย็นสบายได้ และประหยัดไฟได้ด้วย
6. ควรห้ามสูบบุหรี่ในที่ทำงานโดยเด็ดขาด
7.ควรติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ และจะดียิ่งขึ้นถ้ามีตู้ปลาขนาดใหญ่ๆ สักตู้ เพื่อช่วยคืนสมดุลความชื้นที่เสียไปกับเครื่องปรับอากาศ
8.หมั่นทำความสะอาดโต๊ะทำงานของคุณเอง ด้วยแอลกอฮอล เพื่อฆ่าเชื้อโรค
9. ถ้าคุณเป็นคนติดคอมพิวเตอร์หรือมีงานด่วนที่จะต้องสะสางชนิดที่ไม่สามารถหยุดพัก
ได้ ก็พยายามเตือนตัวเองให้เงยหน้าขึ้นมองออกไปไกลๆ ทุกๆ 20 นาที เพื่อบรรเทาความเหนื่อยล้าของสายตา

หากมีอาการเบื้องต้นเหล่านี้ สามารถเริ่มรักษาได้ด้วยตนเอง ปรับพฤติกรรมลดความเครียดจากการทำงานที่หนักเกินพอดี ด้วยการใช้เวลาทำงานกับเวลาพักผ่อนให้สมดุลกัน และควรมีการผ่อนคลายในระหว่างการทำงาน เช่น หลับตา หายใจลึกๆ สักพัก และระหว่างเวลาทำงานในทุก 1 ชั่วโมง ควรใช้สมอง 45 นาที แล้วพัก 10-15 นาที

หากไม่รู้สึกดีขึ้น สามารถขอคำปรึกษาได้ ที่ “สายด่วนสุขภาพจิต โทร. 1323″ หรือปรึกษาคลินิกคลายเครียด ที่มีอยู่ในหน่วยงานในสังกัดกรมสุขภาพจิต

ขอบคุณข้อมูลจาก lib.ru.ac.th, http://women.sanook.com/951394/

ข่าวบันเทิงบน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!


0 Comments

    Author

    ราชพฤกษ์คลินิกกายภาพบำบัด

    Archives

    May 2020
    May 2019
    October 2018
    June 2018
    July 2016
    June 2016
    March 2016
    January 2015
    May 2014
    March 2014
    December 2013
    September 2013
    August 2013
    July 2013
    December 2012

    Categories

    All

    RSS Feed

  • กายภาพบำบัดที่สาเหตุอาการปวดหลัง
  • โปรแกรมพิลาทิสกายภาพ