กภ.สุพรรณี ใจวงศ์ศรี ราชพฤกษ์คลินิกกายภาพบำบัด ในยุคปัจจุบันมีการใช้สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์เกือบทุกวัน ทำให้ใช้ข้อมือมากเกินไป เมื่อรู้สึกตัวอีกทีก็มีอาการปวดข้อมือ ชานิ้ว หรือปวดแปล๊บที่นิ้วมือ อาการที่กล่าวมานี้คืออาการของโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ โรค Carpal Tunnel Syndrome หรือชื่อย่อคือ CTS เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากเส้นประสาทมีเดียน (Median Nerve) ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณแขน และมือ และรับความรู้สึก บริเวณฝ่ามือ นิ้วโป้ ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และครึ่งหนึ่งของนิ้วนาง เส้นประสาทนี้จะเดินทางตั้งแต่บริเวณต้นคอจนถึงปลายนิ้วมือ ซึ่งบริเวณข้อมือนั้น จะต้องลอดช่องอุโมงค์ที่เรียกว่า Carpal Tunnel เมื่ออุโมงค์นี้เกิดการแคบลงจากสาเหตุต่างๆ เช่นการอักเสบ การบวมน้า หรือมีสิ่งอื่นมากดทับ ก็จะเป็นผลให้เส้นประสาทมีเดียนถูกกดทับ สาเหตุของการเกิดโรค 1. การใช้งานข้อมือในท่าเดิม ๆ อย่างเช่นคนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ที่ต้องใช้เมาส์ โดยใช้ข้อมือเป็นจุดหมุน การกดแป้น คีย์บอร์ด การเย็บผ้า การขับรถ 2. การใช้ข้อมือที่มีการงอมือเป็นเวลานาน เช่น การกวาดบ้านนาน ๆ การรีดผ้า การหิ้วถุงที่มีการงอข้อมือ 3. การทำงานที่มีการใช้ข้อมือกระดกขึ้นและการสั่นกระแทก เช่น ช่างฝีมือประเภทต่าง ๆ พนักงานโรงงาน งานที่เกี่ยวกับการก่อสร้างหรืองานคอนกรีต 4. การที่พังผืดหนาตัวมากขึ้น จากสภาพร่างกายที่มีอายุมากขึ้น อาการแสดงและการเกิดโรค 1. ปวด ชาบริเวณฝ่ามือและนิ้วมือจะมีอาการข้างเคียงหรือทั้ง 2 ข้าง มักจะมีอาการเด่นชัดในมือข้างที่ถนัดโดยเฉพาะนิ้วโป้ง ชี้ กลาง และนิ้วนางครึ่งนิ้ว 2. อาการอ่อนแรงของมือ และนิ้วมือ เช่น กำมือได้ไม่แน่น หยิบจับของแล้วหล่นง่าย ถ้าไม่รีบรักษา จะสังเกต เห็นกล้ามเนื้อในมือฝ่อลีบ บางครั้ง อาจพบว่ามีอาการมากขึ้นในตอนกลางคืนบางครั้งผู้ป่วยอาจตื่นขึ้นมาเนื่องจากอาการปวด แต่เมื่อสะบัดข้อมือ แล้วมีอาการดีขึ้น การวินิจฉัยทางกายภาพบาบัด1. ใช้การทดสอบ ที่เรียกว่า Tinel's test โดยการเคาะบริเวณตรงกลางข้อมือซึ่งเป็นบริเวณที่เส้นประสาท median nerve ผ่าน จะมีอาการปวดหรือลักษณะไฟช็อต ร้าวไปที่นิ้วมือ การทดสอบนี้มีความไว40-60% มีความจาเพาะ70-94% 2. การตรวจ Phalen's test คือให้งอข้อมือ 90 องศาเป็นเวลา 1 นาที ผู้ป่วยจะมีอาการชา หรืออาการปวดบริเวณฝ่ามือและนิ้วมือ แนวทางการรักษา 1. หลีกเลี่ยงการกระดกข้อมือขึ้นลงในกิจวัตรประจาวัน โดยการเปลี่ยนมาใช้ข้อศอกหรือข้อไหล่ในการทำกิจกรรมต่างๆ แทนเช่น การกวาดบ้าน การแปรงฟัน ฯลฯ เพื่อลดอาการอักเสบบริเวณข้อมือ 2. การทำกายภาพบาบัด เช่น การทำอุลตร้าซาวด์ การบริหารมือ ซึ่งจะได้ผลดีในผู้ที่เริ่มต้นมีอาการไม่มาก 3. การรักษาด้วยยาและการผ่าตัด ออกกำลังกำยเพิ่มกำรเคลื่อนใหวของเอ็นกล้ำมเนื้อ (tendon gliding exercise) ด้วยความปรารถนาดีจาก
ราชพฤกษ์คลินิกกายภาพบำบัด เพราะคุณคือคนสำคัญ ที่เราต้องดูแล Referrence 1. ปราณี ทู้ไพเราะ. คู่มือโรค. กรุงเทพฯ : N P Press Limited Partnership, 2552. 2. ณัฏฐ์ชัย จิตต์ธรรมวาณิช. โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome . [database on the internet]. ladprao hospital homepage. Available from: http://www.ladpraohospital.com/lph_site2/healthKnowledgesDetail.php?txtID=15. (8 พฤษภาคม 2557) 3. ทิพวรรณ สิทธิ. Carpal tunnel syndrome (โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ). [database on the internet]. Available from: http://www.pt.mahidol.ac.th/ptclinic/index.php?option=com_content&view=article&id=305:carpal-tunnel-syndrome&catid=55:2009-03-13-03-23-09&Itemid=111&showall=1. (8 พฤษภาคม 2557) 4. สมศักดิ์ ลีเชวงวงศ์. โรคกลุ่มอาการประสาทมือชา (carpal tunnel syndrome). [database on the internet]. Available from: http://www.vichaiyut.co.th/jul/23_03-2545/23_03-2545_P13-14.pdf 5. ธนินนิตย์ ลีรพันธ์. การออกกาลังกายในผู้ที่มีภาวะ Carpal tunnel syndrome. [database on the internet]. Available from: http://www.taninnit.com/index.php?option=com_content&view=article&id=89&Itemid=500
0 Comments
Your comment will be posted after it is approved.
Leave a Reply. |
Archives
May 2020
Categories |