สาเหตุที่คาดไม่ถึงที่ทำให้ปวดหลังเรื้อรัง‼️
การนั่งโฟฟาเป็นสาเหตุที่ทุกคนมองข้าม ทำให้ความโค้งส่วนเอวอยู่ในท่าค่อมตัว เป็นสาเหตุทำให้กล้ามเนื้อหลังถูกยืดมากเกินไป ส่วนกล้ามเนื้อหน้าท้องอยู่ในท่าที่หดตัวมากเกินไป แนวแรงที่ลงที่ข้อต่อกระดูกสันหลังผิดไป ทำให้เกิดอาการค่อยๆ บาดเจ็บสะสมไปทีละนิด ถ้าติดนิสัยนั่งโฟฟาเป็นระยะเวานานๆ จะทำให้โครงสร้างกระดูกสันหลังค่อยๆ เปลี่ยนไป จนทำให้เรามีภาวะอาการปวดหลังเรื้อรัง วิธีการนั่งที่ถูกต้องควรหาอะไรมารองที่หลัง ช่วงเอวส่วนล่าง เพื่อรักษาความโค้งช่วงหลัง ให้สมดุล จะช่วยลดอาการปวดหลังเรื้อรัง กภ.ขวัญหญิง มลศิริ Forward head posture คือ ลักษณะโครงสร้างของกระดูกคอมีการเปลี่ยนแปลงแบบยื่นไปทางด้านหน้าต่อหัวไหล่ ทำให้กล้ามเนื้อคอ และบ่าต้องทำงานมากกว่าปกติในการดึงคอให้กลับมาทางด้านหลัง ทำให้มีอาการปวดคอ บ่า จนบ้างครั้งมีอาการปวดร้าวลงแขนหรือศีรษะได้ นอกจากนี้ยังส่งผลทำให้โครงสร้างของกระดูกคอและหมอนรองกระดูกรับนำ้หนักที่ผิดจากปกติ ส่งผลทำให้เกิดภาวะเสื่อมเร็วกว่าคนปกติ ถ้าคนไข้มีลักษณะคอที่ยื่นออกไปทางด้านหน้ามากเกินไป ก็จะมีผลต่อโครงสร้างกระดูกช่วงอก ทำให้คนไข้มีลักษณะหลังค่อม มีโหนกนูนที่คอ ซึ่งการปรับโครงสร้างให้กลับมาเป็นเหมือนเดิมนั้น ค่อนข้างยาก ดังนั้นแนะนำให้ป้องกันโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยให้แนวโครงสร้างกระดูกคออยู่ในแนวสมดุลย์ ไม่ยื่นออกหน้าหัวไหล่ หมั่นยืดกล้ามเนื้อคอ บ่า และออกกำลังกายกล้ามเนื้อคออย่างสม่ำเสมอ
ติดตามคลิปการออกกำลังกายกล้ามเนื้อคอได้ในวันพรุ่งนี้นะคะ กภ.ขวัญหญิง มลศิริ ราชพฤกษ์คลินิกกายภาพบำบัด มีสาเหตุมาจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยงอย่างเฉียบพลัน(stroke) เนื่องมาจากเส้นเลือดแดงในสมอง อาจมีการตีบ อุดตัน หรือแตก ทำให้เนื้อสมองบางส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายตายหรือหยุดสั่งงาน จึงทำให้เกิดอาการอัมพาตของร่างกายซีกตรงกันข้าม ทำให้ร่างกายมีการสูญเสียการทำงานของแขนขาในด้านเดียวกันของลำตัว เป็นโรคที่พบได้บ่อยในวัยกลางคนหรือวัยสูงอายุ
สาเหตุของการเกิดแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆตามสาเหตุของการเกิดโรค 1.เกิดจากสมองขาดเลือด (ischemic stroke) แบ่งย่อยออกเป็น หลอดเลือดในสมองตีบตัน (Cerebral thrombosis) เกิดจากมีลิ่มเลือดในหลอดเลือดสมองไปอุดตันหลอดเลือดทำให้สมองขาดเลือดไปเลี้ยง พบได้บ่อยที่สุด และหลอดเลือดในสมองมีลิ่มเลือดอุดตัน (cerebral embolism) เกิดจากลิ่มเลือดที่หลุดมาจากอวัยวะอื่นเข้าสู่หลอดเลือดสมอง ทำให้หลอดเลือดสมองอุดตัน ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคเลือด หรือรับประทานยาคุมกำเนิด 2.เกิดจากหลอดเลือดสมองแตก ( hemorrhagic stroke) ทำให้เลือดออกในสมองหรือช่องใต้เยื่อหุ้มสมอง ส่วนมากพบในผู้สูอายุ หรือผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุที่มีอันตรายร้ายแรงอาจตายได้ในเวลารวดเร็ว ปัจจัยเสี่ยงโรคหลัก 1.ความดันโลหิตสูง มีอัตราเสี่ยงสูงกว่าคนปกติ 3- 17 เท่า ขึ้นอยู่กับอายุและความรุนแรงในแต่ละราย 2.โรคเบาหวาน เพราะจำทำให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็งทั่วร่างกาย ทำให้เกิดการอุดันของหลอดเลือด มีความเสี่ยงกว่าคนปกติ 2.5-4 เท่า 3.ภาวะไขมันในเลือดสูง อาจทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดได้ 4.การสูบบุหรี่ มีความเสี่ยงกว่าคนปกติ 3 เท่า ทำให้หลอดเลือดตีบได้ง่าย ปัจจัยเสี่ยงโรครอง ได้แก่ ผู้สูงอายุ เชื้อชาติ การดื่มสุรา โรคหัวใจ โรคเลือด การรับประทานยาคุมกำเนิด ความอ้วน ขาดการออกกำลังกาย ประวัติครอบครัวบิดามารดาเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน อาการเตือน โรคอัมพาตครึ่งซีกจะมีอาการอ่อนแรงของแขนขาซีกหนึ่งเกิดขึ้นฉับพลันทันทีบางคนอาจสังเกตว่าจู่ๆล้มลง หรือก้าวขาไม่ได้ ขยับแขนไม่ได้ อาจมีอาการชาตามแขนขาตามัว ตาเห็นภาพซ้อน พูดไม่ได้หรือพูดอ้อแอ้ปากเบี้ยวหรือกลืนไม่ได้ร่วมด้วยบางคนอาจมีอาการปวดศีรษะ วิงเวียน หรือมีความรู้สึกสับสนก่อนที่เกิดอาการอัมพาต ในรายที่เป็นรุนแรง อาจมีอาการเป็นลม หมดสติ ซึ่งมักจะเกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก และมีเลือดคั่งในสมอง การป้องกัน ตรวจสุขภาพประจำปี หากมีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคให้ควบคุมให้อยู่ในภาวะปกติ และการป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำโดยการใช้ยาต้านเกล็ดเลือด การรักษา การรักษา แพทย์ผู้ให้การรักษาจะมีมีการใช้ยา เพื่อลดอาการของการขาดเลือดที่สมอง เช่น การรักษาความดันให้พอเหมาะ ใช้ยาต้านเกล็ดเลือด ใช้ยากันเลือดแข็ง การลดความหนืดของเลือด ให้ยาลดสมองบวม หากใช้ยาไม่ได้ผลแพทย์จะพิจารณาการผ่าตัด ตามแต่ละราย หลังจากรักษาจนอาการคงที่และผู้ป่วยเป็นอัมพาทครึ่งซีก จะเป็นหน้าที่ของแพทย์และบุคลากรในทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟูที่ต้องทำหน้าที่รักษาและฟื้นฟูเพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาใช้อวัยวะต่างๆได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด กภ.สุพรรณี ใจวงศ์ศรี ราชพฤกษ์คลินิกกายภาพบำบัด อ้างอิงจาก
|
Archives
May 2020
Categories |