กายภาพหมอนรองกระดูกทับเส้น ไม่ผ่าตัด
  • กายภาพบำบัดที่สาเหตุอาการปวดหลัง
  • โปรแกรมพิลาทิสกายภาพ

อัมพาตครึ่งซีก(Hemiplegia)

3/9/2016

0 Comments

 
มีสาเหตุมาจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยงอย่างเฉียบพลัน(stroke) เนื่องมาจากเส้นเลือดแดงในสมอง อาจมีการตีบ อุดตัน  หรือแตก ทำให้เนื้อสมองบางส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายตายหรือหยุดสั่งงาน จึงทำให้เกิดอาการอัมพาตของร่างกายซีกตรงกันข้าม ทำให้ร่างกายมีการสูญเสียการทำงานของแขนขาในด้านเดียวกันของลำตัว เป็นโรคที่พบได้บ่อยในวัยกลางคนหรือวัยสูงอายุ 

​สาเหตุของการเกิดแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆตามสาเหตุของการเกิดโรค

1.เกิดจากสมองขาดเลือด (ischemic stroke) แบ่งย่อยออกเป็น หลอดเลือดในสมองตีบตัน (Cerebral thrombosis) เกิดจากมีลิ่มเลือดในหลอดเลือดสมองไปอุดตันหลอดเลือดทำให้สมองขาดเลือดไปเลี้ยง พบได้บ่อยที่สุด และหลอดเลือดในสมองมีลิ่มเลือดอุดตัน (cerebral embolism)  เกิดจากลิ่มเลือดที่หลุดมาจากอวัยวะอื่นเข้าสู่หลอดเลือดสมอง ทำให้หลอดเลือดสมองอุดตัน ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคเลือด หรือรับประทานยาคุมกำเนิด

2.เกิดจากหลอดเลือดสมองแตก ( hemorrhagic stroke) ทำให้เลือดออกในสมองหรือช่องใต้เยื่อหุ้มสมอง ส่วนมากพบในผู้สูอายุ หรือผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุที่มีอันตรายร้ายแรงอาจตายได้ในเวลารวดเร็ว

ปัจจัยเสี่ยงโรคหลัก

1.ความดันโลหิตสูง มีอัตราเสี่ยงสูงกว่าคนปกติ 3- 17 เท่า ขึ้นอยู่กับอายุและความรุนแรงในแต่ละราย
2.โรคเบาหวาน เพราะจำทำให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็งทั่วร่างกาย ทำให้เกิดการอุดันของหลอดเลือด
   มีความเสี่ยงกว่าคนปกติ 2.5-4 เท่า
3.ภาวะไขมันในเลือดสูง อาจทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดได้
4.การสูบบุหรี่ มีความเสี่ยงกว่าคนปกติ 3 เท่า ทำให้หลอดเลือดตีบได้ง่าย

ปัจจัยเสี่ยงโรครอง

     ได้แก่ ผู้สูงอายุ เชื้อชาติ การดื่มสุรา โรคหัวใจ โรคเลือด การรับประทานยาคุมกำเนิด ความอ้วน ขาดการออกกำลังกาย ประวัติครอบครัวบิดามารดาเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน

อาการเตือน

โรคอัมพาตครึ่งซีกจะมีอาการอ่อนแรงของแขนขาซีกหนึ่งเกิดขึ้นฉับพลันทันทีบางคนอาจสังเกตว่าจู่ๆล้มลง หรือก้าวขาไม่ได้ ขยับแขนไม่ได้ อาจมีอาการชาตามแขนขาตามัว ตาเห็นภาพซ้อน พูดไม่ได้หรือพูดอ้อแอ้ปากเบี้ยวหรือกลืนไม่ได้ร่วมด้วยบางคนอาจมีอาการปวดศีรษะ วิงเวียน หรือมีความรู้สึกสับสนก่อนที่เกิดอาการอัมพาต ในรายที่เป็นรุนแรง อาจมีอาการเป็นลม หมดสติ ซึ่งมักจะเกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก และมีเลือดคั่งในสมอง

การป้องกัน

ตรวจสุขภาพประจำปี หากมีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคให้ควบคุมให้อยู่ในภาวะปกติ และการป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำโดยการใช้ยาต้านเกล็ดเลือด

 การรักษา

การรักษา แพทย์ผู้ให้การรักษาจะมีมีการใช้ยา เพื่อลดอาการของการขาดเลือดที่สมอง เช่น การรักษาความดันให้พอเหมาะ ใช้ยาต้านเกล็ดเลือด ใช้ยากันเลือดแข็ง  การลดความหนืดของเลือด  ให้ยาลดสมองบวม หากใช้ยาไม่ได้ผลแพทย์จะพิจารณาการผ่าตัด ตามแต่ละราย
     หลังจากรักษาจนอาการคงที่และผู้ป่วยเป็นอัมพาทครึ่งซีก จะเป็นหน้าที่ของแพทย์และบุคลากรในทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟูที่ต้องทำหน้าที่รักษาและฟื้นฟูเพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาใช้อวัยวะต่างๆได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

กภ.สุพรรณี ใจวงศ์ศรี
​ราชพฤกษ์คลินิกกายภาพบำบัด


    อ้างอิงจาก
  1. ผศ.ดร.น้อมจิตต์   นวลเนตร์.(2551).หลักการทางกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยทางระบบประสาท .ข่อนแก่น :โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
  2. จิรานันท์ กริฟฟิทส์.  (2557). อัมพาทครึ่งซีก ความเสี่ยง และการป้องกัน                                                     สืบค้นจาก http://www.ams.cmu.ac.th/th/images/stories/your_health/18.pdf /
0 Comments

Your comment will be posted after it is approved.


Leave a Reply.

    Author

    ราชพฤกษ์คลินิกกายภาพบำบัด

    Archives

    May 2020
    May 2019
    October 2018
    June 2018
    July 2016
    June 2016
    March 2016
    January 2015
    May 2014
    March 2014
    December 2013
    September 2013
    August 2013
    July 2013
    December 2012

    Categories

    All

    RSS Feed

  • กายภาพบำบัดที่สาเหตุอาการปวดหลัง
  • โปรแกรมพิลาทิสกายภาพ